วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556


บริการสารสนเทศ





        บริการสารสนเทศ หมายถึง งานบริการที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียดลึกซึ้ง ช่วยค้นหาข้อมูลหรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่างๆให้บริการหลายประเภท เช่น บริการจัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล บริการข่าวสารทันสมัย เป็นต้น และยังต้องติดต่อกับศูนย์เอกสารและศูนย์สารสนเทศต่าง ๆเพื่อให้ได้ข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ ในการค้นหา ข้อมูลโดยใช้ Information sources นั้น นอกจากจะเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว information sources ยังรวมถึงสารสนเทศที่อยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ สามารถค้นข้อมูลออกมาในรูปบรรณานุกรม และเนื้อหาเต็มฉบับ (fulltext) บริการสารสนเทศมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุ

หลักการของบริการสนเทศ
หลักการของบริการสนเทศจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 - ความถูกต้อง
 มีความสมบูรณ์
             - เชื่อถือได้
 - ต้องตรงประเด็น
 - ชัดเจน เข้าใจจ่าย
 - ต้องทันเวลา

 ประเภทของบริการสนเทศ
ในการให้ข้อสนเทศนั้นสามารถแบ่งข้อสนเทศออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 
     1.ข้อสนเทศทางด้านการศึกษา (Education information) หมายถึง การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับโอกาสและข้อกำหนดต่างๆ ทางด้านการศึกษาหรือการฝึกฝนรวมทั้งหลักสตรู สถานภาพและปัญหาต่างๆ ของชีวิตการเรียน
 ข้อสนเทศทางการศึกษาอาจประกอบไปด้วยสาระต่าง ๆ
      - สถานที่เรียน
      - หลักสตรูที่เปิดสอนหรืออบรม
      - โครงสร้างหลักสตรู รายวิชาเรียน
      - ค่าใช้จ่ายในการเรียน ที่พักอาศัย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
      - กิจกรรมต่างๆ ที่มีในสถาบัน
      - การดำรงชีวิตอยู่ในสถาบัน

                  - โอการทางการศึกษาหลังสำเร็จจากสถาบัน
                  - โอการในการทำงานหลังจากสำเร็จจากสถาบัน
                  - ข้อเสนออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์

                2. ข้อสนเทศทางการอาชีพ (vocational information) หมายถึง การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ทางด้านการงาน คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้าไปทำงาน สถานภาพและคุณลักษณะของการทำงานความก้าวหน้าและสิ่งตอบแทนในการงาน ข้อสนเทศดังกล่าวจะต้องเป็นข้อข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเป็นประโยชน์ต่อการเลือกอาชีพของเด็กทุกคน    
 ข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องกับอาชีพอาจจะประกอบด้วยสาระต่างๆ  ดังต่อไปนี้
        1. ข้อกำหนดในการที่จะเข้าไปทำงาน
                       -  คุณสมบัติเฉพาะของบุคคลที่จะเข้าทำงาน
                       -  การเตรียมและการฝึกฝน
                       -  ความสามารถพิเศษ
                       ประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้อง
                       วิธีการคัดเลือกบุคคล
       2. สถานภาพของการทำงาน
           หน้าในการทำงาน
           -  ช่วงเวลาในการทำงาน
           -  สภาพแวดล้อมการทำงาน
           -  ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงาน
               3. สิ่งตอบแทน
           -  เงินเดือน สวัสดิการและค่าตอบแทนอื่นๆ
           -  ความรู้สึกพึงพอใจที่ได้รับจากการทำงาน
           -  แนวโน้นของความต้องการของตลาดแรงงาน
           - โอกาสของเข้าไปทำงาน
           -  ความต้องการของตลาดแรงงาน
           -  แนวโน้มของความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
                4. ความก้าวหน้าในการทำงาน
           -  ด้านเงินเดือนสวัสดิการและค่าตอบอื่นๆ
           - โอกาสในการศึกษาต่อหรือการฝึกฝนเพิ่มเติม
                                   -  การเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น

            3. ข้อสนเทศทางด้านส่วนและด้านสังคม     (social information) หมายถึง   การให้ข้อสนเทศที่เกี่ยวกับโอกาสและอิทธิพลของสิ่งแวดแล้วต่างๆ ที่มีต่อบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น และสามารถปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและบุคคลอื่นๆ ในสังคม

 4.เทคนิควิธีการในการให้บริการสนเทศ
  เทคนิควิธีการในการให้บริการสนเทศมีดังต่อไปนี้
                1. การให้ข้อสนเทศเป็นรายบุคคล คือ การสัมภาษณ์เพื่อให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อสนเทศต่างๆ ปัญหาการไม่รู้กระจ่างแจ้งเกี่ยวกับข้อสนเทศต่างๆ ปัญหาการไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจกับตนเองในเรื่องต่างๆ ปัญหาความไม่สามารถต่อการเลือกและตัดสินใจในการเลือกศึกษาอาชีพและปรับตัวตัวในสังคม เป็นต้น
                 2. การให้ข้อสนเทศเป็นกลุ่ม คือ เป็นวิธีการที่สำคัญและจำเป็นต้องจัดเพราะเท่ากับเป็นการแนะแนวนักเรียนทุกคน ส่วนใหญ่จะมุ่งเสนอในรูปแบบของกิจกรรม ได้แก่ รายการวิทยุ โทรทัศน์ การปฐมนิเทศ เป็นต้น

งานบริการสารสนเทศ





          


       สถาบันสารสนเทศเน้นให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันไปตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง    ซึ่งพอจะสรุปบริการที่จัดให้โดยทั่วไปได้ดังนี้
       1. บริการการอ่าน    เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในระบบชั้นเปิดและจัดที่นั่งสำหรับอ่านค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล   พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือช่วยค้นซึ่งอาจจะเป็นบัตรรายการหรือรายการในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยสะดวก
       2. บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  เป็นบริการรวบรวมรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการอยู่ในสถาบัน  หรืออาจรวบรวมเฉพาะเรื่องที่มีผู้สนใจ  หรือรวบรวมตามระยะเวลาที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า  เช่น  การทำบัตรรายการ  การทำดัชนีวารสาร  บริการโอแพค (OPAC) ของห้องสมุด  และ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประจำปี ของหอสมุดแห่งชาติ  เป็นต้น
       3. บริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศออกไปใช้ภายนอกสถาบัน  โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันบริการสารสนเทศ
       4. บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันอื่น โดยสถาบันต้นสังกัดของสมาชิกช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสาน  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าขนส่ง เป็นต้น
       5. บริการจองหนังสือหรือบริการหนังสือสำรอง  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด  แต่มีผู้สนใจต้องการใช้จำนวนมาก  สถาบันบริการสารสนเทศอาจให้บริการจองหนังสือล่วงหน้า  หรืออาจจัดบริการหนังสือสำรองไว้ในสถาบันโดยไม่ให้ยืมออกนอกสถาบันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้ได้ใช้บริการอย่างทั่วถึงทุกคน
       6. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในสถาบัน และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ  
       7. บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  เป็นบริการแนะนำแหล่งหรือสถาบันบริการสารสนเทศ  วิธีการใช้  วิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงแหล่งจัดเก็บไว้  ได้อย่างรวดเร็ว  และใช้ประโยชน์ในแหล่งสารสนเทศนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
       8. บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  เป็นบริการเผยแพร่สารสนเทศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ   เพื่อชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง เช่น การจัดนิทรรศการ  การจัดประชุมอภิปรายทางวิชาการ  การจัดทำจุลสาร วารสารวิชาการ เป็นต้น
       9. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการรวบรวม  คัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ แก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ  เช่น การทำสำเนาบทความจากวารสาร  การทำบรรณานุกรมและสาระสังเขปแล้วส่งให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
      10. บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  เป็นบริการถ่ายสำเนาเอกสารไปใช้ประโยชน์  เช่น   บริการถ่ายเอกสาร    บริการพิมพ์ผลการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์  อินเทอร์เน็ต  หรือแฟ้มข้อมูล
      11. บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อให้ผู้ค้นคว้าได้ใช้บริการต่าง ๆ เช่น  การสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์  และการใช้บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e –mail)   เป็นต้น





ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/345740